Ms. Marvel EP.4 กับชื่อตอนที่ชื่อว่า โกรธ หรือ Seeing Red ได้เล่าเรื่องราวของ Kamala ในเมืองการาจี เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอาหรับ ซึ่งทำให้กมลาเข้าใจเรื่องราวของครอบครัวตัวเองมากขึ้น โดยบริบทของเรื่องราวนี้ใช้สถานที่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดในการถ่ายทำ ไม่ว่าจะเป็นสถานีรถไฟหัวลำโพง ชาดหาดของทะเลเมืองพัทยาที่เราเห็นหลังๆเป็นโรงแรมดุสิตธานีนั่นเอง ฉากบ้านที่เรามักจะเห็นในละครไทยอยู่บ่อยครั้ง ฉากตลาดโบราณสถานที่ไล่ล่ากันที่ใช้เวิ้งนาครเขษม ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร รวมถึงยังมีฉากในตัวอย่างของทุ่งนาที่ยังไม่ได้ออนแอร์และอื่นๆ จุดหลักของตอนนี้เผยให้เราได้พบกับกลุ่ม Red Dagger กลุ่มป้องกันภัยร้ายจากมิติลับแลหรือมิติที่เรามองไม่เห็น รวมถึงความคืบหน้าของกำไลและมิตินูร์ หรือ Noor Dimension ที่เริ่มอธิบายมิตินี้ให้เราเห็นภาพมากขึ้น แน่นอน EP.4 นี้ยังมีประเด็นสำคัญ ความเชื่อมโยงและ Easter Eggs แฝงอยู่มากมายเรื่องราวจะเป็นไงบ้างนั้นติดตามครับ
1. กำไลที่มีการแต่งเติมหรือไม่
เรื่องราวของกำไล มีข้อสังเกตว่ากำไลที่ Aisha ใส่ กับกำไลที่กมลาใส่เหมือนมีความแตกต่างกัน โดยกำไลที่ Aisha ใส่ในส่วนที่มันยื่นออกมา ไม่มีลวดลายอะไร แต่ตอนกำไลใส่ใส่ส่วนที่ยื่นออกมาจะมีลายอักขระที่สลักคำตามที่ Wareed ได้บอกเอาไว้ว่า “สิ่งที่เจ้าหา ก็ตามหาเจ้า” ไม่แน่มันอาจจะเป็นกำไลอันที่สองหรือไม่ หรือเป็นกำไลอันเดิมแต่ Aisha ได้สลักข้อความเพื่มเติมเพื่อส่งต่อให้ Kamala โดยเฉพาะ ซึ่งเราต้องมาติดตามประเด็นนี้กันต่อไป
2. การผจญภัยในเมืองการาจี
เรื่องราวของ Ms. Marvel ใน EP.4 ถูกดัดแปลงมาจากคอมมิก Ms. Marvel Vol.4 #12 ซึ่งเล่าเรื่องราวของ Kamala ในการเดินทางไปหาคุณยาย Sana ที่เมืองการาจีเหมือนกัน ในซีรีส์มีความแตกต่างกับคอมมิกตรงที่ยังไม่ได้มีการพูดถึง Inhuman และไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของการแบ่งแยกดินแดนระหว่างอินเดียกับปากีสถานในสมัยที่อังกฤษรุกรานอินเดีย และไม่ได้มีการพูดถึงพลังของ Kamala จากคุณยาย Sana แต่อย่างใด
3. ห้องศิลปะของคุณยาย
เมื่อ Kamala มาถึงบ้านของยาย Sana เธอก็ได้เข้าไปในห้องที่คุณยายวาดรูปไว้เยอะมากรวมถึงรูปของทวด Aisha นอกจากนี้ที่ผนังมุมห้องด้านนึง มีการแปะเรื่องราวของเหตุการณ์การแย่งแยกประเทศของอินเดีย รวมถึงข่าวต่างๆในหน้าหนังสือพิมพ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของปากีสถาน นอกจากนี้ Sana ก็ได้โชว์รูปตาทวดของเธอหรือชื่อ Hasan ที่แสดงโดย Fawad Khan โดย Fawad Khan เป็นนักแสดง โปรดิวเซอร์ นักเขียนบท นายแบบ และนักร้องชาวปากีสถาน ถือว่าเป็นดาราคนนึงที่โด่งดังมาก คาดว่าใน EP. หน้าเราจะได้เห็นตาทวด Hasan และยายทวด Aisha กมลามีทวดทั้งสวยทั้งหล่อไปเลย
4. กางเกงยืนรูปสัญลักษณ์ Captain Marvel
ฉากที่กมลาไปโบทคลับเธอใส่กางเกงยืนส์ที่มีรูปสัญลักษณ์ Captain Marvel โดยการใส่ยืนส์ของเธอก็ทำให้ต้องออกมานั่งร้อนๆข้างนอกเพราะเขาห้ามใส่ยีนส์เข้าไปข้างใน นอกจากนี้ป้าลักษณาก็ทักกมลาว่าชื่อของเธอไม่ใช่ปากีทั่วไป และมีการเม้าแม่เธอว่าสมัยก่อนเธอก็ชอบแหกกรอบอะไรเหมือนกมลาในตอนนี้นั่นเอง
5. QR-Code
ฉากที่ Kamala ไปเดินเล้นกีบญาติที่ตลาดเก่ามีบูทถ่ายรูปโดยลุงคนนึงได้ถ่ายรูป Kamala ซึ่งที่บูทของเค้ามี QR-Code ปรากฏอยู่ ซึ่งถ้าแสกนโคดนี้เราก็จะพบกับคอมมิก Marvel Vol.4 #12 ให้อ่านฟรี ซึ่งคอมมิกเล่มนี้เหมือนเป็นโครงเรื่องราวของ Ms. Marvel ใน EP.4 นี้
6. ภาพวาด Ant-Man
จากนั้นเมื่อ Kamala ได้ไปที่สถานีรถไปเพื่ออยากไปค้นหาเรื่องราวในนิมิตที่เกี่ยวข้องกับรถไฟที่สถานีรถไฟของเมืองการาจี ที่สร้างประมาณปี 1898 บรรยากาศในสถานีมีรูปวาดที่เกี่ยวข้องกับ Avengers นั้นก็คือรูปวาดของ Ant-Man เหมือนเป็นการแสดงความสรรเสริญเพื่อให้เกีรยติเหล่า Avengers นั่นเอง เหตุที่ Ant-Man ดังมาถึงปากีสถานได้ก็อาจจะเป็นเพราะ Podcasts ของเค้าที่ Kamala ได้นำเสนอให้เราทราบใน EP.1 ที่เกี่ยวข้องการเหตุการณ์การต่อสู้ของ Avengers ใน Endgame โดยในภาพนี้มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า “You can start small and still be larger than life.” หมายความว่า คุณสามารถเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก และ ยังคงยิ่งใหญ่กว่าชีวิตได้ โดยในรูประบุศิลปินที่วาดรูปนี้คือ Saira Hussain และยังบอกว่ารูปนี้ได้รับแรงบัลดาลใจจาก Adrian Alphona ซึ่งแฟนๆ Marvel รู้ดีว่า Alphona เป็นศิลปินในการรังสรรค์ผลงานในคอมมิกของ Marvel และเขาก็ยังเป็นหนึ่งในผู้สร้างตัวละคร Kamala Khan และกำหนดสไตล์ขอตัวละคร Ms. Marvel อีกด้วย แน่นอนชื่อ Adrian Alphona ก็เคยปรากฏใน EP.1 ในฉากป้ายโรงเรียน Coles Academic High School มีชื่อของบุคคลที่น่าจะเป็นชื่อของผู้ก่อตั้งสถาบันนี้ตามในเรื่องราวนี้นั่นเอง นอกจากนี้ก็มีข้อความภาษาอาหรับที่แปลได้ว่า As Powerful as an Ant (มีพลังเหมือนกับมด)
7. การเผชิญหน้ากับ Red Dagger
ใน EP.4 นี้มีการแนะนำตัวละครใหม่ ก็คือสมาชิกของกลุ่ม Red Dagger หรือ Kareem หนุ่มน้อยที่ใช้ผ้าสีแดงปิดหน้าให้เหลือแต่บริเวณดวงตาที่เหมือนกับในคอมมิก โดยเขามาหา Kamala ก็เพราะว่าเขาสัมผัสได้ถึงพลังนูร์ที่สถานีรถไฟ เรื่องราวของกลุ่ม Red Dagger ใน MCU ก่อตั้งขึ้นเพื่อคอยปกป้องภัยร้ายจากมิติลับแลหรือมิติที่เรามองไม่เห็น ซึ่งพวกเค้าก็รู้จักเรื่องราวที่เเกี่ยวข้องกับพลังนูร์ และรู้จักมิตินูร์เป็นอย่างดี แน่นอน Red Dagger มีสมาชิกอีกคนนึงก็คือ Wareed ผู้นำของกลุ่ม Red Dagger นี้ โดยความแตกต่างในเรื่องราวของ Red Dagger ในคอมมิกและใน MCU มีความแตกต่างกันมาก ซึ่งในคอมมิก Kareem เป็นฮีโร่ศาลเตี้ยที่ทำภารกิจในการาจีตอนกลางคืนและทั้งคู่เคยเจอกันได้ตอนที่กมลาไปเยี่ยมคุณยายที่การาจี Kareem เป็นเพื่อนของป้าของกมลา ซึ่งอาศัยอยู่กับยายของกมลาในเมืองการาจี ต่อมา Kareem ได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนทำให้เค้าไปอยู่ที่ Jersey จนเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนของ Kamala ซึ่งในเวอร์ชันของ MCU Red Dagger เป็นกลุ่มคนและมีความเกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดของ Kamala ตามที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้น ซึ่งการพบกันของ Kareem และ Kamala ที่สถานีรถไฟ เป็นการอ้างถึงคอมมิก Ms. Marvel #23 ที่ตั้งคู่ร่วมต่อสู้กันบนรถไฟนั่นเอง
8. ประโยคจาก Terminator 2
เมื่อ Red Dagger กับ Kamala ปะทะกับเสร็จเจ้าหน้าที่อขงรถไฟก็ตามมาดูเหตุการณ์ทำให้ Kareem พูดว่า Come with him if you wants to live (มากับฉันถ้าอยากมีชีวิต) ซึ่งเป็นประโยคเดียวกับในหนัง Terminator 2 นั่นเอง
9. Iman Vellani เธอเป็นชาวแคนาดา
ฉากนึงที่ Kareem ถามกมลาว่า อเมริกันใส่หน้ากากมีพลังทุกคนไหม ทำให้กมลาตอบว่ารู้ได้ไงว่าฉันไม่ใช่คนอเมริกา ซึ่งประโยคนี้ในชีวิตจริงนักแสดงที่รับบทเป็น Kamala หรือ Ms. Marvel เธอชื่อ Iman Vellani เธอเป็นชาวแคนาดา นั่นเอง
10. ฐานทัพของกลุ่ม Red Daggers
ใน MCU กลุ่ม Red Daggers มีฐานทัพหรือที่ซ่อนของพวกเค้าเองซึ่งทำให้เรารู้ว่ากลุ่มของ Red Daggers มีความเป็นมาหลายร้อยปีใน MCU คอยปกป้องโลกจากภะยที่เรามองไม่เห็นหรือกลุ่มมิติลับต่างๆ ซึ่งพวกเค้ารู้ถึงพวกมิตินูร์และพลังนูร์ ไม่แน่กลุ่ม Red Daggers อาจจะเคยติดต่อกับพวก Clandestine ในมิตินูร์แน่ๆ และยังทำให้เราได้เข้าใจเรื่องราวของ Djinn อย่างถูกต้องว่า คำว่า Djinn นั้นคือชื่อที่มนุษย์เรียกกันเองและคิดว่า Clandestine คือ Djinn แต่จริงๆไม่ใช่ โดย Wareed ก็ได้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนโดยใช้เรื่องราวของ Thor มาอธิบายให้เราเข้าใจนั่นเอง
11. A.B.C. Chinese Restaurant
เป็นสถานที่ที่ตั้งฐานทัพของ กลุ่ม Red Daggers ซึ่งร้านนี้มีอยู่จริงในสมัยก่อนของเมืองการาจี เป็นร้านอาหารจีนที่ตั้งอยู่ที่เมือง Saddar, Karachi ดังมากในช่วงปี 1950 และเป็นที่ชื่นชอบของนักชิมในสมัยนั้น ก่อตั้งขึ้นโดย Li Dianxian ในปี 1930 โดยได้รับการอุปถัมภ์จาก Zhou Enlai นายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน เสียดายปิดร้านไปเมื่อปี 2531 นี่เอง
12. มิตินูร์ กับ Multiverse
เรื่องราวของ MCU ในเฟสที่ 4 มุ่งเน้นไปที่เรื่องราวของ Multiverse และมิติคู่ขนานต่างๆในจักรวาล ซึ่งใน Ms. Marvel ได้มีการเล่าถึง Noor Dimension หรือมิตินูร์มิตินึงที่อยู่ขนานไปกับมิติปัจจุบันของโลก หรืออยู่อีกระนาบนึงคล้ายกับเมือง Ta-Lo ใน Shang-Chi มิตินนูร์มีม่านมิติกั้นอยู่เปรียบเป็นประตูมิติกั้นระหว่างโลกปัจจุบันกับมิตินูร์ โดย Wareed ได้บอกว่าถ้า ใช้กำไลฉีกม่านมิติได้ Clandestine ทำให้เผ่าพันธุ์นี้เข้ามาในโลกของเราจนโลกเราถูกทำลาย นั้นทำให้การรักษากำไลที่อยู่กับกมลาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดูแล้ว Noor Dimension คล้ายๆ Attilan ดินเเดนของกลุ่ม Inhumans เเละความอันตรายนี้ก็คล้ายๆ Incursion ที่จะสร้างปัญหาให้กับสองมิติโดยรวม แต่เนื่องจากนี่ไม่ใช่เหตุการณ์การชนกันของจักรวาลคู่ขนานเป็นเพียงแต่รอยต่อของมิติ หรือ Dimension แต่มิติต่างๆก็มีผลต่อ จักรวาลได้
13. หรือว่าทวด Aisha เป็น Clandestine ที่แตกต่างออกไป
ตลอดการสนทนา Waleed หลีกเลี่ยงการบอกว่าทวด Aisha เป็น Clandestine ที่อันตราย บางทีอาจบอกเป็นนัยว่า Aisha นั้นเป็นตัวตนที่แตกต่างจากคนอื่นที่มาจาก Noor Dimension โดยอธิบายว่าทำไมหลานสาวหรือกมลาของทวด Aisha เธอถึงมีพลังและความสามารถที่ไม่เหมือน Clandestine อื่นๆ รวมถึงคำจารึกที่กำไลที่บอกว่าสิ่งที่เจ้าตามหาก็ตามหาเจ้า ข้อความนี้อาจจะเป็นสารถึงใครสักคนนั้นเอง
14. องค์กร D.O.D.C : Supermax Prison (เรือนจำ Supermax)
นอกจาก MCU จะมีคุก the Raft ที่เป็นคุกที่อยู่กลางมหาสมุทรคอยกักขังกลุ่มคนที่เป็นยอดมนุษย์ องค์กร D.O.D.C ก็มีคุกคล้ายๆกันนี้ซึ่งเราเห็นรูปโฉมของ D.O.D.C : Supermax Prison จากทางมุมด้านบน แต่รู้หรือไม่ว่าคุกนี้เคยปรากฏมาแล้วในตัวอย่างแรกของซีรีส์ She-Hulk ที่จะฉายให้เราได้ชมกันในลำดับต่อไป นั้นหมายความว่า D.O.D.C จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคตของ MCU รวมถึงการที่เราเห็นการใช้อาวุธ Super Sonic ที่ D.O.D.C ใช้ก็มีความคล้ายกับอาวุธในตัวอย่างของซีรีส์ She-Hulk นั่นเอง
15. เหตุผลของการเหินห่าง
ในตอนนี้เราได้เห็นฉากที่ Muneeba และ Sana ได้คุยกันอย่างจริงจัง ซึ่งเราได้เรียนรู้เหตุผลที่ทำให้พวกเขาเหินห่าง การที่ Muneeba คิดว่าแม่ของเธอเพ้อเจ้อกับเรื่องไร้สาระจึงต้องทำให้เธอย้ายมาอยู่ที่อเมริกา รวมถึงการทำผิดบางอย่างที่เะอเข้าใจว่าทวด Aisha เป็นคนทำด้วยซึ่งเป็นเด็นนี้ยังไม่มีการเปิดเผยความจริงทำให้เราต้องติดตามต่อไป
16. พูดคุยบนดาดฟ้า
ฉากที่กมลาได้พูดคุยกับคุณยายบนดาดฟ้าที่ Sana ถามว่าเจอคำตอบในสิ่งที่ให้หาบ้างหรือยัง และยายเธอก็ยังสรุปตัวตนของตัวเองไม่ได้ คุณยายยังบอกว่า Passport เป็นปากีสถานแต่รากเหง้าเป็นอินเดีย สิ้งที่กั้นตวามรู้สึกนี้คือพรมแดนที่เป็นเลือดและความเจ็บช้ำ ความรู้สึกตรงนี้คล้ายกับช่วงนึงในคอมมิก Marvel Vol.4 #12 ที่กมลาบอกว่า เธอ “เป็นชาวปากีสถานเกินไป” ในอเมริกา แต่ในการาจี เธอ “เป็นคนอเมริกันเกินไป” รวมถึงการที่เธอทานเผ็ดไม่ค่อยได้กับปารีปูรี เป็นการบ่งบอกว่าเธอต้องปรับตัวตามที่แม่ของเธอแนะนำ
17. ท่าโพสพลังของ Kamala และเสื้อกั๊ก
ใน Red Daggers เหมือนได้ฝึกการใช้พลังและกมลา ข่านก็แสดงท่าโพสที่เป็นท่าที่รู้จักจากคอมมิก การที่เธอเป็นมนุษย์เชื่อมกมลากับโลกในมิตินี้ทำให้พลังของกมลามีความพิเศษออกมา หลังจากนั้น Waleed ก็ได้มอบเมื้อกั๊กสีน้ำเงินให้กมลา ที่เขาได้บอกว่าเนื้อผ้านั้นเต็มไปด้วยเรื่องราวของประวัติศาสตร์มากมายทำให้กมลาระลึกไว้เสมอว่าเธอมาจากไหน ความสำคัญของเสื้อกั๊กตัวนี้จะเป็นอย่างไร น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับชุดของ Kamala ในสอง EP สุดท้าย เราต้องมาติดตามกันต่อไป
18. ขับรถถอยหลังตามเคย
ฉากที่กมลากำลังจะขับรถบรรทุกในระหว่างการไล่ล่ากันกับอีกฝ่ายกมลาเข้าเกียร์ถอยหลังเหมือนใน EP.1 ในฉากเรียนขับรถจนไปชนรถครูสอบขับรถแต่หลังจากนั้นเธอก็เริ่มชับเป็น
19. รถไฟขบวยสุดท้าย
หลังจากที่ Najma แม่ Kamran เอา Maduvu อาวุธจากอินเดียที่ใช้ในศิลปะการต่อสู้อย่าง Silambam แทงไปที่กำไลทำให้กมลาเข้าไปยังเหตุการณ์รถไฟขบวนสุดท้าย วันที่ Aisha หายตัวไป รถไฟเที่ยวสุดท้ายของการเคลื่อนย้ายปรากรชาวอินเดียที่เป็นมุสลิมไปยังดินแดนใหม่ในปากีสถาน เหตุการณ์นี้อาจให้ทำให้หลายคนอินหลายคนไม่อิน แต่การที่ MCU นำเอาเรื่องราวจริงของโลกมานำเสนอในสไตล์รูปแบบของ Hero นั่นเป็นอะไรที่น่าสนใจ มันอาจเป็นจุดหนึ่งที่กลุ่มคนนึงไม่ชอบการนำเสนอเรื่องราวแบบนี้ แต่ถึงอย่างไรเรื่องราวของ Kamala มีผลต่อไปในอนาคตของ MCU อย่างมากและอัครมองว่าซีรีส์เรื่องนี้เล่าที่มาของ Kamala ได้ออกมาดีเลยทีเดียว การที่กมลามายังเหตุการณ์นี้มีความคล้ายกับการที่ Clea ใน Doctor Strange 2 มาจากมิติมืด หรือ Dark Dimension มากๆ ฉากนี้ทำให้ผมรู้สึกถึงความวุ่นวาย ความสิ้นหวังของชาวอินเดียที่จะต้องเดินทางไปยังดินแดนใหม่ คำถามคือฉากนี้กมลาได้เดินทางย้อนเวลาไปจริงๆ หรือเป็นเพียงนิมิตที่กำไลได้สร้างภาพมาให้เห็น ถ้าเป็นการข้ามเวลาจริงๆ อาจเป็นไปได้ว่ากมลาอาจเป็นคนช่วยชีวิตคุณยาย Sana ในคืนนั้นก็เป็นได้
20. ความเป็นไทยใน EP.4
ฉากที่มีการไล่ล่ากันโดยตุ๊กๆ ถ่ายทำที่เวิ้งนาครเขษมเป็นย่านการค้าเก่าแก่ ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร รวมสินค้าจีน ฝรั่ง และไทยไว้ด้วยกัน ถือเป็นศูนย์การค้าสากลแห่งแรกของเกาะรัตนโกสินทร์ปัจจุบันมีจุดเด่น คือ เป็นแหล่งจำหน่ายเครื่องดนตรี นอกจากนี้ก็มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือเก่าหายาก ฉากรถแท๊กซี่ รถเมล์แดง กทม และคนส่ง Grab ที่ขี่มอเตอร์ไซต์ผ่านด้วย ฉากสถานีรถไปหัวลำโพง ฉากบ้านไนละครไทย ฉากการเข้าไปยังฐานของ Red Daggers เราจะเห็นเป็นร้าน ABC Chinese ซึ่งในครัวของร้านมี้เครื่องปรุงต่างๆที่คนไทยรู้จักดี ซีอิ้วขาว น้ำมัน น้ำปลา และอื่นๆมากมาย รวมถึงฉากทะเลเมืองพัทยาที่ตรงข้ามเป็นโรงแรมดุสิตธานีที่ทำเป็นชายหายทะเทอาหรับ
21. ฉากเครดิต
ในฉากเครดิตทำให้เราเห็นบรรยากาศของเมืองการาจีของจริงที่ไม่ใช่ประเทศไทย แล้วก็ยังมีรูปที่อยู่หน้าปกคอมมิก Marvel Vol.4 #12 ที่กมลาแบกกระเป๋ามาที่การาจี รูปที่เธอคลุมหน้ากับชุดที่ยังไม่ใช่ชุดฮีโร่ของเธอก็มาจากคอมมิกเล่มเดียวกัน รูปเธอกับคุณยาย Sana ในคอมมิกรวมถึงรูปของ Red Dagger ในคอมมิก Marvel Vol.4 #12 ถือว่าคอมมิกเล่มนี้คือโครงเรื่องทั้งหมดของ EP.4 ในซีรีส์ Ms. Marvel นั่นเอง
22. เพลง Soundtrack ใน EP.4
- SUMMER NIGHTS ศิลปิน Raaginder and Wisechild เพลงนี้ดังขึ้นในช่วงแสดง Logo ของ Marvel Studios ตอนเเปิดเรื่อง โดย Raaginder Singh Momi เป็นนักไวโอลินจากรัฐแคลิฟอร์เนีย เกิดที่กรุงเทพประเทศไทย ชอบผสมผสานดนตรีที่ใช้เครื่องสายของไวโอลิน กับแนวเพลงคลาสสิกของอินเดีย ส่วน Wisechild ก็เป็นศิลปินเชื้อสายอินเดียเช่นกัน
- INDIAN DRUMMERS ศิลปิน Charles J. Casey, Johnny Kalsi and Steven Guy Hellier เป็นเพลงที่ใช้ประกอบในฉากที่สนามบิน Johnny Kalsi เป็นนักดนตรีมือกลองชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย ส่วน Steven Hellier เป็นโปรดิวเซอร์ และก็ทำเพลงให้กับภาพยนตร์หลายเรื่องมากมาย
- AAG ศิลปิน Talal Qureshi feat. Naseebo Lal เพลงนี้ดังขึ้นในฉากที่กมลากำลังนั่งรถเข้าไปยังเมืองการาจี ทำให้เราเห็นบรรยากาศของเมืองแห่งนี้ โดยศิลปิน Talal Qureshi เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ดีเจ และโปรดิวเซอร์ชาวปากีสถานหน้าใหม่ และกำลังมีชื่อเสียงในหลายปีที่ผ่านมา และ Naseebo Lal เป็นนักร้องพื้นเมืองของปากีสถานที่โด่งดังคนนึง
- Pasoori ศิลปิน Ali Sethi x Shae Gill เพลงนี้ดังขึ้นในฉากที่กมลาไปโบทคลับกับญาติๆและแม่นั่นเอง โดยศิลปิน เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักเขียนชาวปากีสถาน มีหนังสือของเค้าที่ได้รับความนิยมมากชื่อเรื่องว่า The Wish Maker ในปี 2012 จากนั้นเขาก็พลิกผลันตัวเองเข้าสู่โลกด้านดนตรี ส่วน Shae Gill เป็นนักร้องที่เกิดและเติบโตในปากีสถานร้องเพลงมาตั้งแต่อายุยังน้อยจนได้ร่วมงานกับ Ali Sethi ในเพลงนี้
- The Sibbi Song ศิลปิน Abid Brohi เพลงนี้ดังขึ้นในฉากที่กมลาไปเดินตลาดเก่ากับญาติก่อนจะไปสถานีรถไฟ โดยศิลปิน Abid Brohi เป็นชาว Rap ของปากีสถาน อาบิดเคยทำงานเป็นเด็กรับใช้ในเมือง Sibbi จนได้ทะยานตัวเองสู่การเป็น Rapper ชื่อดังคนนึงในปากีสถานนั้นเอง
- MERA LAUNG GAWACHA ศิลปิน Musarrat Nazir เพลงนี้ดังขึ้นในฉากที่แม่ของ Kamala เก็บบ้านให้ยาย Sana โดยศิลปิน Musarrat Nazir (มูซาร์รัต นาเซียร์) เป็นนักร้องและนักแสดงภาพยนตร์ชาวปากีสถาน ซึ่งแสดงในภาพยนตร์ภาษาอูรดูและปัญจาบหลายเรื่อง
- UP INNA ศิลปิน M.I.A., and GuiltvBeatz เพลงดังขึ้นในฉากที่มีการไล่ล่ากันในตลาด Ronald Banful หรือที่รู้จักในแวดวงดนตรีว่า GuiltvBeatz เป็นดีเจ โปรดิวเซอร์ชาวกานา M.I.A. ศิลปินแร็พหญิงเอเชียใต้เชื้อสายศรีลังกาชาวอังกฤษ