ดูวีดีโอประกอบการสอน
สัญลักษณ์นิวเคลียร์
a คือ เลขอะตอม เพื่อบอกจำนวนโปรตอน (p)
b คือ เลขมวล บอกจำนวนรวมของโปรตอนและนิวตรอน (p+n)
นี่คือสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ ใดๆ
เลขมวล คือตัวเลขที่ได้จากการเฉลี่ยมวลไอโซโทปที่เสถียร (ไม่คิดธาตุที่เป็นกัมมันตรังสี) ดังนั้นเลขมวลที่ปรากฏอยู่ในตารางธาตุจะใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณที่พบในธรรมชาติ
มวลอะตอมที่ได้จะมีค่าใกล้เคียงกับมวลไอโซโทปที่พบในธรรมชาติ
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน แต่มีเลขมวลต่างกัน หรืออะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
Cu-63 พบในธรรมชาติ 85%
Cu-65 พบในธรรมชาติ 15%
จะเห็นว่าธาตุทองแดง มี 2 ไอโซโทป โดยมีมวลไอโซโทปเป็น 63 และ 65 และพบในธรรมชาติ 85% และ 15% ตามลำดับ เราสามารถหาเลขมวลของทองแดงจากการใช้สูตร มวลอะตอมเฉลี่ย ข้างต้นดังนี้
มวลอะตอมเฉลี่ย Cu =
เมื่อคำนวณคิดเลขแล้ว จะได้มวลอะตอมเฉลี่ยของ Cu เท่ากับ 63.3
จะได้สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของ Cu โดยมีเลขมวล เท่ากับ 63.3 และมีจำนวนโปรตอน (เลขอะตอม) เท่ากับ 29
มวลของธาตุ 1 อะตอม
ภาษาทั่วไปถ้าเราอยากจะรู้น้ำหนักของเรา เราก็ไปชั่งน้ำหนัก ซึ่งในทางเคมี น้ำหนักก็คือมวล มีหน่วยเป็นกรัม (g)
มวลอะตอม คือ ตัวเลขที่ใช้คำนวณหามวลของอะตอม หรือ ในภาษาทั่วไปคือหาน้ำหนักของอะตอมโดยการเปรียบเทียบกับมวลของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นอะตอมที่ทราบมวลค่อนข้างชัดเจน
อนุภาคมูลฐานของไฮโดรเจนประกอบด้วย
- โปรตอน 1 ตัว มีมวล
- อิเล็กตรอน 1 ตัว มีมวล
จะเห็นได้ว่าน้ำหนักหรือมวลของโปรตอนมีค่าที่หนักกว่ามวลของอิเล็กตรอนอย่างมาก เราจึงไม่คิดน้ำหนักของอิเล็กตรอน ดังนั้น มวลของไฮโดรเจนจึงมีค่าประมาณ
ดังนั้นเพื่อความสะดวกต่อความเข้าใจและการคำนวณ การคำนวณหามวลของธาตุ 1 อะตอม ก็นำเอาเลขมวลมาเทียบกับเลขมวลของ ไฮโดเจน (H) ซึ่งมีค่าเป็น 1 นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 1
Ca (แคลเซียม) มีเลขมวลหรือมวลอะตอมเป็น 40 H มีเลขมวลหรือมวลอะตอมเป็น 1 ดังนั้น Ca 1 อะตอม มีมวลเป็น 40 เท่าของ H
ดังนั้น Ca 1 อะตอม มีมวล =
ตัวอย่างที่ 2
O (ออกซิเจน) มีเลขมวลหรือมวลอะตอมเป็น 16 H มีเลขมวลหรือมวลอะตอมเป็น 1 ดังนั้น O 1 อะตอม มีมวลเป็น 16 เท่าของ H
ดังนั้น O 1 อะตอม มีมวล =
เลข เป็นเลขมาตรฐานสำหรับหามวลอะตอม (คือทุกธาตุต้องเอาเลขมวลมาคูณกับเลขนี้) ดังนั้นจึงตั้งชื่อเลข ว่า amu (Atomic Mass Unit)
ทำให้ตัวอย่างที่ 1 อาจตอบได้ว่า 40 amu และตัวอย่างที่ 2 อาจตอบได้ว่า 16 amu
ตัวอย่างที่ 3
สารประกอบตัวนี้ประกอบด้วย
C (คาร์บอน) 1 อะตอม มีเลขมวล เท่ากับ 12
O (ออกซิเจน) 2 อะตอม มีเลขมวล เท่ากับ 32 (โดย 1 อะตอม จะมีเลขมวล 16 เมื่อมี 2 อะตอม เลขมวลเท่ากับ 2 x 16 = 32)
รวมสารประกอบนี้จะมีเลขมวลรวมเท่ากับ 12+32 = 44 ซึ่งจะเรียกว่ามวลโมเลกุล (MW : Molecular Weight)
สารประกอบ มีมวลโมเลกุล เท่ากับ 32
ดังนั้น 1 โมเลกุล มีมวล 44 x amu
สรุป
ธาตุ มวลของอะตอม 1 อะตอม = มวลอะตอม x amu
สารประกอบ หรือโมเลกุล มวลของโมเลกุล 1 โมเลกุล = มวลโมเลกุล x amu
ในทางกลับกันจะได้
มวลอะตอม = มวลของอะตอม 1 อะตอม / amu
มวลโมเลกุล = มวลของโมเลกุล 1 โมเลกุล / amu