วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2567

วิทยาการคำนวณ ม.3 EP.1 | การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ และ ข้อมูลทุติยภูมิ

การรวบรวมข้อมูล

ข้อมูล (Data)

 

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง หรือลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเมื่อได้รับข้อมูลมาแล้วจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง เหมาะสม และมีความน่าเชื่อถือ การรวบรวมรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ดังนั้น ผู้ใช้งานข้อมูลจึงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของข้อมูล ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูล โดยเมื่อพิจารณาถึงประเภทข้อมูลตามแหล่งที่มาสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ และ ข้อมูลทุติยภูมิ


ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)

  ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้เก็บรวบรวมด้วยตนเอง ทําให้ได้ข้อมูลที่ ตรงตามความต้องการมากที่สุด เพราะสามารถควบคุมลักษณะการเก็บข้อมูลและรายละเอียดอื่น ๆ ได้ตามที่ต้องการ ในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เวลา และกําลังคนมากกว่า การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ โดยการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ สามารถทําได้ ดังนี้

1. การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล เป็นการสื่อสารต่อหน้า (Face-to-Face) และเป็นการสื่อสาร แบบสองทาง (Two-way Conversation) ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ตอบคําถามซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยที่ผู้สัมภาษณ์จะเป็นผู้ถามคําถามและควบคุมรูปแบบของการสัมภาษณ์ ซึ่งโดยปกติผู้ตอบ มักไม่ให้ความสนใจในการตอบ หากรู้สึกว่า ตนเองไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการให้ความ ร่วมมือในการสัมภาษณ์นั้น ดังนั้น จึงเป็น หน้าที่ของผู้สัมภาษณ์ที่ต้องสร้างบรรยากาศ และกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกที่ดีในระหว่าง การสัมภาษณ์ ถ้อยคําที่ใช้ วิธีการพูด บุคลิก การแต่งกาย และมารยาทที่แสดงออกของ ผู้สัมภาษณ์ ล้วนมีส่วนสําคัญกับคําตอบที่จะ ได้รับ วิธีการนี้ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดสําหรับ การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เพราะนอกจาก คําตอบที่ได้รับแล้ว อาจจะสังเกตสิ่งอื่น ๆ จากผู้ตอบได้อีกด้วย

2. การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความสะดวกและง่ายต่อ การเข้าถึงผู้ให้ข้อมูล ด้วยเหตุที่ผู้คนในสังคม ปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ในบางครั้งอาจเกิดปัญหาการติดต่อกับ ผู้ให้ข้อมูลไม่ได้ หรือได้รับการปฏิเสธจากผู้ให้ ข้อมูล เนื่องจากไม่แน่ใจหรือไม่ไว้วางใจต่อผู้ที่ โทรศัพท์เข้ามา ดังนั้น การใช้โทรศัพท์เพื่อ รวบรวมข้อมูล จําเป็นที่จะต้องสร้างความไว้ วางใจและความเชื่อถือกันเสียก่อน ซึ่งสามารถ กระทําได้หลายวิธี เช่น การส่งอีเมลหรือโทรศัพท์ขอความร่วมมือไปล่วงหน้า การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อแนะนําตนเองและอธิบายวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์มีข้อดีในเรื่องความสะดวกและรวดเร็ว แต่ก็มีข้อเสีย คือ ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถ้าใช้เวลาในการสัมภาษณ์นานเกินไป ผู้ให้ข้อมูล อาจจะตัดสายหรือวางสายเมื่อใดก็ได้ หรืออาจจะมีสายเรียกเข้ามาขัดจังหวะขณะการสัมภาษณ์ ซึ่งล้วนเป็นเหตุให้การสัมภาษณ์นั้นไม่สมบูรณ์ และอาจทําให้ผู้ให้ข้อมูลเลือกปฏิเสธที่จะให้ ข้อมูลในครั้งต่อไปได้

3. การใช้แบบสอบถาม เป็นการรวบรวมข้อมูลที่ผู้ตอบกรอกข้อมูลด้วยตนเอง โดยถือเป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความนิยม เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่การตอบ แบบสอบถามแบบนี้จะประกอบไปด้วยคําถาม จํานวนไม่มากหรือไม่ยาวเกินไป และคําตอบ มักเป็นคําตอบที่ไม่ยาวเกินไปเช่นกัน ในบางคําถามมักมีคําตอบมาให้เลือก เพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการตอบแบบสอบถาม การใช้แบบสอบถามในการรวบรวม ข้อมูล สามารถแบ่งรูปแบบของแบบสอบถาม ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้      

     1) แบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open-ended Form) แบบสอบถามแบบนี้เป็น แบบสอบถามที่ไม่ได้กําหนดคําตอบไว้ ผู้ตอบ แบบสอบถามสามารถเขียนคําตอบหรือแสดง ความคิดเห็นได้อย่างอิสระด้วยคําพูดของตนเอง      

     2) แบบสอบถามแบบปลายปิด (Closed-ended Form) แบบสอบถามแบบนี้ ประกอบด้วยข้อคําถามและตัวเลือกให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบ ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่า ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกตอบได้ตามความต้องการและมีอย่างเพียงพอ เหมาะสม แบบสอบถามแบบนี้สร้างยากและใช้เวลาในการสร้างมากกว่าแบบสอบถามแบบปลายเปิด แต่ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

4. การสังเกต เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นทางเลือกสุดท้ายในกรณีที่ไม่สามารถรวบรวม ข้อมูลด้วยวิธีอื่นได้ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมของคนและของสัตว์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว ทั้งการ สังเกตพฤติกรรมลักษณะต่าง ๆ ของทั้งคน สัตว์ สิ่งของ ภาษาพูด ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และการสังเกตที่ไม่ใช่พฤติกรรม ซึ่งจะเป็นการศึกษาสถิติหรือประวัติต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีต เช่น การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ระบบต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการทํางาน โดยวิธีการสังเกต สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้      

     1) การสังเกตโดยตรง ซึ่งผู้สังเกต จะเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ แต่จะไม่มีการ ควบคุมหรือจัดการใด ๆ กับสถานการณ์ที่ ต้องการสังเกต เพียงแต่สังเกตแล้วบันทึก สิ่งที่เกิดขึ้นจริง บางครั้งอาจใช้การสอบถาม เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การสังเกตคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สิ่งที่ ต้องระวัง คือ ความลําเอียงของผู้สังเกต เพราะ ต้องเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์      

     2) การสังเกตแบบอ้อม เป็นการ สังเกตแบบที่ผู้ถูกสังเกตจะไม่รู้ตัว แม้ว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ต้องคํานึงถึงเรื่องจริยธรรมด้วย


ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)

  ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้แล้วโดยผู้อื่น การนําข้อมูล ทุติยภูมิมาใช้จะต้องตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลก่อน โดยดูว่าใครเป็นผู้รวบรวมไว้ มีวิธีการ อย่างไร และข้อมูลมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร เพื่อจะได้นําข้อมูลไปใช้และอ้างอิงได้อย่างมั่นใจ โดยข้อมูลทุติยภูมิมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ข้อดี ข้อเสีย
สามารถนําข้อมูลไปใช้งานได้ง่าย โดยไม่ ต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และเป็นการประหยัดงบประมาณอีกด้วย ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้แล้ว อาจไม่ตรงตาม เป้าหมายที่ต้องการ อาจจะทําให้เสียเวลาใน การหาข้อมูลจากหลายแหล่ง

การนําข้อมูลทุติยภูมิมาใช้เราไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของข้อมูลได้ เนื่องจากเรา ไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้รวบรวมข้อมูลนั้นรวบรวมข้อมูลมาอย่างไร และใช้วิธีการใดจึงได้ข้อมูลมา ดังนั้น ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิควรมีการตรวจสอบ (Cross Checks) โดยเปรียบเทียบ ข้อมูลชนิดเดียวกันกับแหล่งข้อมูลอื่นด้วย ซึ่งการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ สามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้      

1. ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานหรือภายในองค์กรของผู้ใช้งาน เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลทางการเงิน โดยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายใน มีลักษณะเฉพาะตัว ผู้รวบรวมข้อมูลจะต้องรู้ว่าข้อมูลที่ต้องการเก็บอยู่ที่ใด และอยู่ในรูปแบบใด ทั้งนี้ ผู้รวบรวมข้อมูลต้องสอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลได้ถูกแหล่ง      

2. ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก เป็นข้อมูลที่ได้จาก การรวบรวมของบุคคล หน่วยงานหรือองค์กรภายนอก เช่น ข้อมูลทางด้านสถิติต่าง ๆ จากหน่วยงานสํานักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งการใช้งานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก ควรมีการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มากับข้อมูลขององค์กรอื่น ๆ ด้วย ซึ่งการตรวจสอบแบบนี้จะช่วยลดความผิดพลาดในการนําข้อมูลมาใช้