วันจันทร์, 14 ตุลาคม 2567
เนื้อหาของคอร์ส
การเขียนโปรแกรมในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้
อัลกอริทึมและโฟลว์ชาร์ต การเขียนโฟลว์ชาร์ต (Flowchart) การเรียนซูโดโค้ด (Pseudo Code)
0/3
รู้จักภาษาไพทอน
0/2
ชนิดข้อมูล ตัวแปร และตัวดำเนินการ
คำสั่งในการแสดงผล
0/1
คำสั่งในการรับค่าข้อมูล
การเขียนโปรแกรมภาษา Python เบื้องต้น
เกี่ยวกับบทเรียน

ระบบคอมพิวเตอร์นั้นทำงานอย่างมีขั้นตอน โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งถ้าปราศจาก ซอฟต์แวร์ (Software) คอมพิวเตอร์ก็เป็นเหมือนเศษโลหะ ที่ไม่สามารถอะไรได้เลย

ในขั้นตอนเรื่มต้น ซอฟต์แวร์ถูกเขียนขึ้นมาก้วยภาษาโปรแกรมภาษาต่างๆ เช่น ภาษา C++/C# , JAVA, PHP หรือ Python ฯลฯ จากนั้นโปรแกรมจะถูกแปลด้วยซอฟต์แวร์ของโปรแกรมอีกชนิดที่เรียกว่า ซอฟต์แวร์แปลภาษา หรือตัวแปลภาษา (translator) เช่น คอมไพล์เลอร์ (compiler) อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter) หรือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ให้กลายเป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) 

ภาษาเครื่อง (Machine Language) มีลักษณะเป็นเลขฐานสอง (Binary Code) ทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำงานและเข้าใจได้เพียงคำสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น

ขั้นตอนการแปลภาษาของคอมพิวเตอร์มีดังนี้

  1. ซอฟต์แวร์ที่เราได้เขียนโปรแกรมขึ้นจะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำสำรอง เช่น ฮาร์ดดิส 
  2. ตัวแปลภาษาจะทำการแปลภาษาจากโคดคำสั่งที่เราได้เขียนขึ้น เพื่อแปลเป็นภาษาเครื่อง 
  3. เมื่อผู้ใช้งานดับเบิลคลิกการทำงานของโปรแกรมใดๆ ใน icon โปรแกรมจะถูกโอนย้ายไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก คือ แรม (RAM) ของคอมพิวเตอร์
  4. ซีพียูจะอ่านข้อมูลคำสั่งจาก แรม เข้ามาทำงานที่ ซีพียู (cpu)
  5. ซีพียูทำการประมวลผลคำสั่งดังกล่าว เพื่อสั่งและควบคุมให้อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ทำงาน
0% เสร็จสมบูรณ์