วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ทำไมต้องเรียน? “วิทยาการคำนวณ” EP.1

19 ม.ค. 2020
2866

ทำไมต้องเรียน? “วิทยาการคำนวณ” ปูพื้นฐานก่อนเขียนโปรแกรม EP.1 ทำความเข้าใจก่อนนะเด็กๆ ว่าตอนนี้เราจะเริ่มจากอะไร #สำหรับคนที่อยากจะพัฒนาตัวเอง ในเรื่องการเขียนโปรแกรม #ต้องดูครับ

นักวิชาการและผู้ที่มีความรู้ทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่า ทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมและสารสนเทศ เป็นสิ่งที่คนในยุคปัจจุบันควรเอามาเป็นพื้นฐาน ถ้าคนในประเทศมีพื้นฐานในด้านนี้แล้วสามารถทำให้ประเทศมีความมั่นคง และสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้

ในสหรัฐอเมริกามีการสนันสนุนให้นักเรียนทั้งประเทศเรียนวิชา Cs : Computer Science หรือวิทยาการคำนวณ ในโครงการ Computing Science For All เพื่อให้เด็กชาวอเมริกันมีพื้นฐานและทักษะทางด้านนี้ และรับมือกับโลกอนาคตได้เป็นอย่างดี ฝึกทักษะให้เด็กๆ รู้จักเป็นผู้สร้างนวัตกรรม แทนที่จะเป็นเพียงผู้ใช้งาน ส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

ในอนาคตนั้นเราก้าวเข้าสู้โลกในยุคดิจิตอล อุปกรณ์ (device) เกือบทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อแและสั่งการด้วยระบบอินเตอร์เน็ต หรือเราเรียกว่า Internet of Things (IoT) และเริ่มเข้าสู่ยุคของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligance : AI) Machine Learning, Blockchain รวมไปถึงการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ หรือเรียกว่า Big Data ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องที่คนยุคใหม่จะต้องทำความเข้าใจ และต้องให้ความสำคัญกับทักษะทางด้านไอทีพวกนี้ เพื่อที่เราจะสารมารถปรับตัวให้เข้ากับยุคในปัจจุบันและอนาคตได้ ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราทุกคนควรจะต้องเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ

วิชาวิทยาการคำนวณ ต่างจากวิชาเดิมอย่างไร ?

วิชาคอมพิวเตอร์ เดิมที่รวมอยู่ในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีนั้น จะเน้นเพียงแค่การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) แต่ในหลักสูตรปัจจุบันสาระเทคโนโลยีถูกผนวกเข้ากับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หรือ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ และมีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนดังนี้ 

  1. วิทยาการคำนวณ (Computer Science : CS) เน้นการแก้ปัญหาอย่าวเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ
  2. เทคโนโลยีสารนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology : ICT) เน้นการรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การประเมินผล การนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศ เพื่อแก้ปีญหาในชีวิตจริง
  3. การรู้เรื่องดิจิตอล (Digital Literacy : DL) เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและรู้เท่าทันสื่อ 

วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์แบบนักคอมพิวเตอร์ โดยใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณประกอบกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ส่วนของวิชาวิทยาการคำนวณ 

ในส่วนของเทนโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการรู้เรื่องดิจิตอล ก็ปรับใช้ให้ทันสมัย ครอบคุลมการรักษาข้อมูลส่วนตัว และการรู้เท่าทันสื่อและข่าวลวง สร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่สูงขึ้น